top of page

WE WELCOME YOUR DONATION

1. ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล

                สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่กำเนิดหรือออาจกำเนิดขึ้นโดยกฎหมาย ซึ่งมนุษย์ก็จะเป็นผู้เลือกใช้สิทธินั้นเอง ไม่มีใครสามารถบังคับได้ นอกจากนั้นสิทธิของแต่ละบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย โดยจะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น

2. ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

                กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลต้องอาศัยการทำงานที่สัมพันธ์กันของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องทำหน้าที่ร่างกฎหมาย ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม กฎหมายเข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในด้านต่างๆ มีความทันสมัยตลอดเวลาตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม

            2.1  กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก

                พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก  พ.ศ. 2546 ได้กำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับเด็กที่จะต้องได้รับการคุ้มครองไว้ 4 ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาส่งเสริม สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิที่จะมีส่วนร่วม และได้กำหนดให้องค์กรต่างๆ ของสังคมที่เกี่ยวกับการควบคุ้มดูแลเด็กปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้

1. หน้าที่ของผู้ปกครอง

  • อุปการะเลี้ยงดู อบรบ สั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน

  • คุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน โดยไม่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

  • ไม่ทอดทิ้งเด็ก ผู้ปกครองจะต้องไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล หรือสถานใดๆ โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน

  • ไม่จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเด็ก เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ปัจจัยสี่ เป็นต้น

  • ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก

 

2.  หน้าที่ของรัฐ

  • คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือไม่มีผู้ปกครองก็ตาม

  • ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กต่างๆ เช่น สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน เป็นต้น

         

          2.2  กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซี่งมีสาระสำคัญที่นักเรียนควรรู้และทำความเข้าใจ ดังนี้

1.  จุดหมายและหลักการ  เนื่องจากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะมีส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนทางการศึกษา

2. หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนดังนี้

  • รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี  โดยให้เด็กและเยาวชนมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

  • รัฐต้องการจัดการศึกษาเป็นพิเศษ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมต้องจัดให้มีการสื่อสารและการเรียนรู้

3. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี

4. รูปแบบการจัดการศึกษา    การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ ดังนี้

  • การศึกษาในระบบ ได้แก่   การเรียนการสอนในโรงเรียน   วิทยาลัย  หรือมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งของรัฐและเอกชน

  • การศึกษานอกระบบ เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

  • การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่างๆ

5.  แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาทุกรูปแบบจะเน้นให้ผู้เรียนมี ความรู้ ความสามารถ และพัฒนาตนเองได้ โดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด

 

      2.3  กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภค มีอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น

  • กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขที่ต้องเข้ามาดูแล

  • กรณีที่ประชาชนได้รับความรับความเดือดร้องเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

  • กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของกิจการธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด ก็เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

  • กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการคือ

  1. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ

  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการโดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า

  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้

  4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยค่าเสียหาย

  5. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม ในการทำสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

 

        2.4  กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความหมายไว้ว่า ลิขสิทธ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะทำการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น เช่น การทำซ้ำหรือดัดแปลงนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน นำออกให้ผู้อื่นเช่นต้นฉบับรวมทั้งอนุญาติให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ของตนได้

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537  ที่ได้กำหนดขอบข่ายงานที่มีลิขสิทธิ์ไว้ ดังนี้

  1. ต้องเป็นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์ โดยเกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของตนเอง มิได้ทำซ้ำ หรือดัดแปลมาจากลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

  2. ต้องเป็นผลงานที่เป็นรูปร่างสามารถจับต้องสัมผัสได้

  3. ต้องเป็นงานประเภทต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 รวม 9 ประเภท

  • งานวรรณกรรม ได้แก่ งานแต่งหนังสือ ทำภาพประกอบ เป็นต้น

  • งานนาฏกรรม  ได้แก่ การคิดท่าเต้น ท่ารำ จิตลีลา สุนทรพจน์ เป็นต้น

  • งานคนตรี ได้แก่ ผลงานการแต่งเพลง แต่งคำร้อง ทำนอง เป็นต้น

  • งานศิลปกรรม ได้แก่ ผลงานด้านศิลปะ การวาด การปั้น เป็นต้น

  • งานโสตทัศนศึกษา ได้แก่ ภาพแผ่นใส ระบบแสง สี เสียง เป็นต้น

  • งานภาพยนตร์ ได้แก่ ผลงานการสร้างสรรค์ภาพยนตร์

  • งานส่งบันทึกเสียง ได้แก่ เทปบันทึกเสียงรายการ

  • งานแพร่งเสียง   แพร่ภาพ  ได้แก่ การกระจายเสียงวิทยุ หรือโทรทัศน์ รายการที่ออกอากาศ

  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ

  1. ลิขสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่อไปนี้

1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง หมายถึง คัดลอกไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดๆ เลียนแบบสำเนา ทำแม่พิมพ์บันทึกเสียง

2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน

3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์

4. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์ในงานที่ทำซ้ำ

5. อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ คือ ระยะเวลาที่เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์จะห้ามหรือฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อเอาผิดแก่บุคคลใด ที่ลอกเลียน ทำซ้ำ หรือทำการใดๆอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

 

 

3. ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมาย

  1. ช่วยให้รู้จักระวังตนไม่ให้พลาดพลั้งกระทำความผิดหรือปฏิบัติฝ่าฝืนข้อห้ามที่กฎหมายกำหนด

  2. ช่วยป้องกันไม่ให้ถูกคนอื่นเอารัดเอาเปรียบ

  3. ช่วยให้รัฐบริหารบ้านเมืองอย่างราบรื่น เพราะทุกคนปฏิบัติตนตามกฎหมาย

  4. ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เพราะกฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินชีวิต

 

            กฎหมายคุ้มครองของบุคคลเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการให้ความคุ้มครองบุคคลในสังคม ดังนั้นหากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดก็จะทำให้สังคมและประเทศเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องที่ 3

กฎหมายและการคุ้มครองสิทธิของบุคคล

bottom of page